เมนู

เลยไป.
บทว่า โส ตํ ปิณฺฑปาตํ ความว่า ภิกษุนั้นไม่ฉันบิณฑบาต
นั้น แบบที่ชาวโลกพร้อมทั้งเทวโลกพึงรับไว้ด้วยเศียรเกล้าที่เหลือจากที่
พระสุคต (เสวย ) หวังอยู่ซึ่งความเป็นธรรมทายาท พิจารณาถึงข้อ
อุปมาด้วยบุคคลที่ถูกไฟไหม้ศีรษะแล้ว พึงปล่อยให้คืนและวันนั้นล่วงไป
อย่างนั้น ด้วยความหิวและความอ่อนกำลังนั้นเอง.

บิณฑบาตที่ไม่ควรฉัน 5 อย่าง


ก็ในวาระนี้ว่า อถ ทุติยสิส มีความย่อดังต่อไปนี้ ถ้าภิกษุนั้นเมื่อ
จะคิดว่า ดีละ เรา ฯลฯ พึงยังคืนและวันให้ล่วงไป ก็พึงคิดอย่างนี้ด้วยว่า
การที่บรรพชิตจะแสวงหาบิณฑบาตในหมู่บ้านที่เกลื่อนกล่นด้วยสัตว์ร้ายคือ
เบญจกามคุณเป็นการยากลำบาก เช่นเดียวกับการแสวงหาเภสัชในป่าซึ่ง
ชุกชุมไปด้วยสัตว์ร้าย แต่ว่าบิณฑบาตนี้พ้นโดยสิ้นเชิงจากโทษในการ
แสวงหาดังว่ามานี้ และเป็นบิณฑบาตที่เป็นเดนของพระสุคต เพราะฉะนั้น
จึงเป็นเหมือนขัตติยกุมารผู้อุภโตสุชาต ( มีพระราชสมภพดีแล้วจากทั้ง
สองฝ่าย คือฝ่ายพระชนกและฝ่ายพระชนนี ).
อนึ่ง บิณฑบาตเป็นของภิกษุไม่ควรฉัน เพราะเหตุ 5 ประการ
เหล่าใดคือ.
1. เป็นของไม่ควรฉัน เพราะบุคคล ( ผู้ถวาย ) มีข้อน่าตำหนิ
คือเป็นบิณฑบาตของบุคคลอลัชชี.
2. เป็นของไม่ควรฉัน เพราะบิณฑบาตมีการเกิดขึ้นไม่บริสุทธิ์ คือ
เกิดขึ้นมาจากการแนะนำของนางภิกษุณี และจากการสรรเสริญคุณที่ไม่มี

จริง (ในตน).
3. เป็นของไม่ควรฉันเพื่อเป็นการอนุเคราะห์เจ้าของ คือภิกษุ
เจ้าของบิณฑบาตก็กำลังหิว.
4. (แม้ ) ภิกษุเจ้าของบิณฑบาตนั้นจะอิ่มแล้ว แต่บิณฑบาต
ก็ยังเป็นของไม่ควรฉัน เพื่อเป็นการอนุเคราะห์อันเตวาสิกเป็นต้นของท่าน
นั่นเอง ( เนื่องจาก) อันเตวาสิกหรือคนอื่น ๆ ที่อาศัยบิณฑบาตนั้น
ยังหิวอยู่.
5. แม้คนเหล่านั้นจะอิ่มหนำสำราญแล้ว แต่ว่าบิณฑบาทก็ยังเป็น
ของไม่ควรฉันเพราะความไม่มีศรัทธา คือ ภิกษุเจ้าของบิณฑบาตยัง
ไม่มีศรัทธา.
บิณฑบาตนี้ก็พ้นแล้วโดยสิ้นเชิงจากเหตุ 5 ประการเหล่านั้น
ความจริงแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นยอดของลัชชีบุคคลทั้งหลาย
บิณฑบาตมีความเถิดขึ้นโดยบริสุทธิ์ และพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงอิ่ม
หนำสำราญแล้ว ทั้งบุคคลอื่นที่หวังเฉพาะเจาะจงในบิณฑบาตก็ไม่มี คน
เหล่าใดเป็นผู้มีศรัทธาในโลก พระผู้มีพระภาคเจ้าก็เป็นยอดของคนเหล่า
นั้น ดังนี้ และภิกษุนั้นครั้นคิดอย่างนี้แล้ว จึงฉันบิณฑบาตนั้นแล้ว
ฯลฯ ปล่อยให้คืนและวันล่วงไป.
ด้วยเหตุผลดังกล่าวมาเพียงเท่านี้ แม้ภิกษุใดไม่ฉัน (บิณฑบาต
ที่เป็นเดนพระสุคต) แต่บำเพ็ญสมณธรรม ภิกษุนั้นชื่อว่าไม่ฉันบิณฑบาต
ที่ควรฉันทีเดียว ส่วนภิกษุใดฉันแล้ว (บำเพ็ญสมณธรรม) ภิกษุนั้น
ชื่อว่าฉันบิณฑบาตที่ควรฉันโดยแท้.
ความแปลกกันในบิณฑบาตไม่มี แต่มีความแปลกกันอยู่ในบุคคล

เพราะฉะนั้น เมื่อจะแสดงความแปลกกันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง
ตรัสว่า กิญฺจาปิ โส ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กิญฺจาปิ เป็นนิบาต ใช้ในความหมายว่า
ยอมรับ และใช้ในความหมายว่า สรรเสริญ.
ถามว่า ยอมรับซึ่งอะไร ?
ตอบว่า ซึ่งการฉันอันไม่มีโทษนั้นของภิกษุนั้น.
ถามว่า สรรเสริญซึ่งอะไร ?
ตอบว่า ซึ่งการฉันแล้วบำเพ็ญสมณธรรม.
มีคำกล่าวอธิบายไว้ดังนี้ว่า ถ้าภิกษุรูปนั้นฉันบิณฑบาตที่ควรฉัน
แล้วบำเพ็ญกิจที่ควรบำเพ็ญไซร้ ข้อว่าโดยที่แท้แล้วภิกษุรูปแรกโน้น
แหละของเราตถาคต ความว่า ภิกษุรูปแรกผู้ปฏิเสธบิณฑบาตนั้นแล้ว
บำเพ็ญสมณธรรมโน้นนั่นแลของตถาคต ดูเหมือนจะเป็นผู้แกล้วกล้า
กว่าในบรรดาสาวก 2 รูป ของตถาคตซึ่งเป็นผู้แกล้วกล้า และดูเหมือน
จะเป็นบัณฑิตกว่าในบรรดาสาวก 2 รูปผู้เป็นบัณฑิตของเราตถาคต ชื่อว่า
เป็นผู้น่าบูชากว่าและน่าสรรเสริญกว่า มีคำอธิบายไว้ว่า น่าบูชาและน่า
สรรเสริญยิ่งกว่าภิกษุรูปที่ 2.

เหตุที่น่าบูชากว่าและน่าสรรเสริญกว่า


บัดนี้ เมื่อจะยกเหตุ ( การณะ ) ขึ้นมาขยายความนั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้า
จึงตรัสคำว่า ตํ กิสฺส เหตุ ดังนี้เป็นต้น.
คำนั้นมีอธิบาย (เพิ่มเติม) ว่า ในข้อนั้น เธอทั้งหลายคงมี
(ข้อกังขา) ว่า เพราะเหตุไร ภิกษุนั้นจึงเป็นผู้น่าบูชากว่าน่าสรรเสริญ